ดอกบานเย็น |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mirabilis jalapa L.
ชื่อสามัญ : Marvel of peru , Four-o’clocks
วงศ์ : Nyctaginaceae
ชื่ออื่น : จันยาม จำยาม ตามยาม ตีต้าเช่า (จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บาน เย็น เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี วงศ์เดียวกับเฟื่องฟ้า เจริญเติบโต เป็นพุ่ม สูงได้ถึง 1 เมตร กิ่งเปราะใบเป็นรูปหัวใจ ปลาย แหลม มีเง้า สูง 1-1.5 ม. ลำต้นมีสีแดง มีนวลเล็กน้อย ใบรูปไข่ หรือรูปสามเหลี่ยม มีขนประปราย กว้าง 2-9 ซม. ยาว 5-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนตัดหรือรูปหัวใจ ก้านใบยาว 1-4 ซม. กลีบประดับรูประฆัง ติดที่ฐาน ยาว 1-1.5 ซม. ดอกเกือบไร้ก้าน มี 4-5 ดอกในแต่ละช่อ บานตอนบ่ายๆ จนถึงตอนเช้า วงกลีบสีชมพู ม่วง ขาว เหลือง หรือด่าง ยาวประมาณ 3-6 ซม. ปากกลีบมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 2.5-3 ซม. เกศรเพศผู้ 5 อัน ยื่นออกยาวประมาณ 1 ซม. ก้านเกสรสีแดง อับเรณูทรงกลม รังไข่รูปรี ก้านเกศรเพศเมียยาวเท่าๆ เกสรเพศผู้ สีแดง ปลายเกสรเป็นตุ่ม เป็นพูตื้นๆ ผลรูปกลมรี สีดำ ขนาดประมาณ ยาว 0.5-0.9 ซม. เปลือกบาง มี 5 สัน เมล็ดกลม ขนาดประมาณ 0.7 ซม. บานเย็นมีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู มีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป โดยเฉพาะดอกสีชมพู ขนาดดอกประมาณ 1 นิ้ว มีหลายสี สีเดิมคือสีชมพูอมม่วงสดใส ทำให้คนนิยมเรียกสิ่งที่มีสีชมพูอมม่วงแบบนี้ว่าสี ดอกบานเย็น หรือสีบานเย็น บางครั้งขึ้นเป็นวัชพืช
ส่วนที่ใช้ : ราก ใบ หัว
สรรพคุณของบานเย็น
ราก - มี alkaloid trigonelline ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย
ใบ - ตำทาแก้คัน และ พอกฝี
หัว - รับประทานจะทำให้หนังชาอยู่คงกะพันเฆี่ยนตีไม่แตกกลับทำให้รู้สึกคัน
- รับประทานเป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ ระงับความร้อน
เมื่อดอกบานเย็นโรยจะมีผลกลมกลมคล้ายเม็ดพริกไทย ผิวขรุขระ เมื่อแก่มีสีดำ มีเมล็ด ๑ เมล็ด
เมล็ดบานเย็นมีรูปร่างค่อนข้างกลม ภายในมีแป้งสีขาวเป็นผงละเอียด ผู้หญิงไทยรู้จักใช้ผัดหน้าให้ผิวสวยและไม่เป็นสิว ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๒ เรื่อง อิเหนาตอนหนึ่งว่า
ลางนางบ้างเก็บลูกบานเย็น มาผัดหน้าทาเล่นไม่เป็นสิว
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=7861.0